วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
เลขที่ 46 ถนนจรัญสนิทวงค์ แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
         
เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีปณิธานในการจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตด้านวิชาชีพขั้นสูงในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความรู้ความสามารถทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติในหลากหลายสาขาวิชา โดยมุ่งหวังให้นักศึกษามีทั้งทักษะทางด้านวิชาการและวิชาชีพก้าวทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะในยุคอุตสาหกรรม (Industrialization) ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในทักษะวิชาชีพขั้นสูง
         
จากความมุ่งมั่นที่จะเข้าสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม ของประเทศไทยแต่ยังมีความขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความรู้คู่ทักษะที่พร้อมสำหรับการขับเคลื่อนประเทศของเราสู่เส้นทางที่มุ่งหวังของ อาจารย์ ดร.ณรงค์ มงคลวนิช ถือเป็นบุคคลตัวอย่าง ที่มีความมุ่งมั่นที่รับผิดชอบต่อความต้องการของสังคมโดยเล็งเห็นความขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพทางทักษะอุตสาหกรรม จึงได้สร้างสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนที่ให้บริการความรู้ ทางด้านช่างอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทยเมื่อ ปีพุทธศักราช 2508 โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนช่างกลสยาม" ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ อันกว้างไกลและปณิธานอันแน่วแน่ที่จะเดินไปสู่จุดมุ่งหมายจากหลายทศวรรษที่ผ่านมาแล้วนั้น "โรงเรียนช่างกลสยาม" ได้เปลี่ยนเป็น โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม" โดยเพิ่มสาขาวิชาด้านพาณิชยกรรมและได้ยืนหยัดอยู่ในระดับแนวหน้าของกลุ่มโรงเรียนอาชีวะศึกษาที่มีคุณภาพของประเทศจากวันแรกถึงวันนี้ความเจริญก้าวหน้าของสถาบัน ดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ถึงความก้าวหน้าและความมุ่งมั่นที่จะสร้างประโยชน์ต่อสังคมและเยาวชนไทย อย่างผู้นำมิใช่ผู้ตามโดยแท้จริง
         
ในปีพุทธศักราช 2548 นับเป็นปีที่ 40 ของสถาบันดังกล่าวและนับเป็นก้าวใหม่ของการเดินทางสู่จุดหมายตามแนวทางที่อาจารย์ดร.ณรงค์ มงคลวนิช ได้ทำเป็นตัวอย่างไว้โดยทางโรงเรียนเทคโนโลยีสยามได้จัดตั้งโครงการ "วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม" ขึ้น เพื่อสานต่อปณิธานของ อาจารย์ดร.ณรงค์ มงคลวนิช และสานต่อความต้องการของสังคมในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพและวุฒิภาวะที่สูงขึ้น โดยให้บริการการศึกษาที่ผสมผสานความรู้ด้านทฤษฏีควบคู่ทักษะ โดยเน้นวัดผลจากการปฏิบัติงานได้จริงตามสภาพปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วซึ่ง "วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม" ได้เปิดดำเนินการในปีการศึกษา 2549 ในเนื้อที่ 8 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา ซึ่งมีพื้นที่ติดกับ "โรงเรียน เทคโนโลยีสยาม" โดยแยกพื้นที่ทั้งสองสถาบันอย่างเป็นสัดส่วน การจัดการศึกษาในปีการศึกษาแรกของ "วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม" เน้นถึงการศึกษาที่ต่อเนื่องสำหรับผู้จบการศึกษาจากทางโรงเรียนเทคโนโลยีสยาม โดยเปิดหลักสูตรปริญญาตรีทางด้านเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจที่รองรับทุกหลักสูตร ที่เปิดสอนในโรงเรียนเทคโนโลยีสยาม แล้วจึงขยายสาขาวิชาเพิ่มเติม ที่เป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย โดยมุ่งเน้นจัดการศึกษาให้มีความต่อเนื่องและเท่าเทียมกันไม่ว่านักศึกษาจะมาจากสถาบันการศึกษารูปแบบใด และระดับใด
          จากความมุ่งมั่นที่จะเข้าสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม ของประเทศไทยแต่ยังมีความขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความรู้คู่ทักษะที่พร้อมสำหรับการขับเคลื่อนประเทศของเราสู่เส้นทางที่มุ่งหวังของ อาจารย์ ดร.ณรงค์ มงคลวนิช ถือเป็นบุคคลตัวอย่าง ที่มีความมุ่งมั่นที่รับผิดชอบต่อความต้องการของสังคมโดยเล็งเห็นความขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพทางทักษะอุตสาหกรรม จึงได้สร้างสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนที่ให้บริการความรู้ ทางด้านช่างอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทยเมื่อ ปีพุทธศักราช 2508 โดยใช้ชื่อว่า "โรงเรียนช่างกลสยาม" ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ อันกว้างไกลและปณิธานอันแน่วแน่ที่จะเดินไปสู่จุดมุ่งหมายจากหลายทศวรรษที่ผ่านมาแล้วนั้น "โรงเรียนช่างกลสยาม" ได้เปลี่ยนเป็น โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม" โดยเพิ่มสาขาวิชาด้านพาณิชยกรรมและได้ยืนหยัดอยู่ในระดับแนวหน้าของกลุ่มโรงเรียนอาชีวะศึกษาที่มีคุณภาพของประเทศจากวันแรกถึงวันนี้ความเจริญก้าวหน้าของสถาบัน ดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ถึงความก้าวหน้าและความมุ่งมั่นที่จะสร้างประโยชน์ต่อสังคมและเยาวชนไทย อย่างผู้นำมิใช่ผู้ตามโดยแท้จริง
          ในปีพุทธศักราช 2548 นับเป็นปีที่ 40 ของสถาบันดังกล่าวและนับเป็นก้าวใหม่ของการเดินทางสู่จุดหมายตามแนวทางที่อาจารย์ดร.ณรงค์ มงคลวนิช ได้ทำเป็นตัวอย่างไว้โดยทางโรงเรียนเทคโนโลยีสยามได้จัดตั้งโครงการ "วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม" ขึ้น เพื่อสานต่อปณิธานของ อาจารย์ดร.ณรงค์ มงคลวนิช และสานต่อความต้องการของสังคมในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพและวุฒิภาวะที่สูงขึ้น โดยให้บริการการศึกษาที่ผสมผสานความรู้ด้านทฤษฏีควบคู่ทักษะ โดยเน้นวัดผลจากการปฏิบัติงานได้จริงตามสภาพปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วซึ่ง "วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม" ได้เปิดดำเนินการในปีการศึกษา 2549 ในเนื้อที่ 8 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา ซึ่งมีพื้นที่ติดกับ "โรงเรียน เทคโนโลยีสยาม" โดยแยกพื้นที่ทั้งสองสถาบันอย่างเป็นสัดส่วน การจัดการศึกษาในปีการศึกษาแรกของ "วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม" เน้นถึงการศึกษาที่ต่อเนื่องสำหรับผู้จบการศึกษาจากทางโรงเรียนเทคโนโลยีสยาม โดยเปิดหลักสูตรปริญญาตรีทางด้านเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจที่รองรับทุกหลักสูตร ที่เปิดสอนในโรงเรียนเทคโนโลยีสยาม แล้วจึงขยายสาขาวิชาเพิ่มเติม ที่เป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย โดยมุ่งเน้นจัดการศึกษาให้มีความต่อเนื่องและเท่าเทียมกันไม่ว่านักศึกษาจะมาจากสถาบันการศึกษารูปแบบใด และระดับใด